Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the wordpress-seo domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /home/ainsidec/domains/myjavaserver.com/public_html/wp-includes/functions.php on line 6114
เทคโนโลยีหน้าจอต่าง ๆ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน - My Java Server - Blog ด้าน Technology หลากหลายในไทย
Menu Close

เทคโนโลยีหน้าจอต่าง ๆ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

led 1

เป็นที่รู้กันว่าในปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการดำรงค์ชีวิตของใครหลาย ๆ คน ซึ่งอุปกรณ์เกือบทุกอย่างที่ได้มาอำนวยความสะดวกให้เราทุกคนนั้นก็จะมีส่วนประกอบสำคัญคือหน้าจอให้เราได้ใช้สั่งงาน หรือรับชมผลการประมวลผลเพื่อจุดประสงค์ที่ต่าง ๆ กันไป อย่างเช่น led tv เป็นต้น

          ดังนั้นหน้าจอต่าง ๆ จึงถูกพัฒนาขึ้นมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ในอดีต ตั้งแต่ยุคสมัยที่เป็นโทรทัศน์เรื่อยมาจนถึงยุคสมาร์ทดีไวท์ต่าง ๆ ในปัจจุบัน ซึ่งแต่ละแบบก็มีจุดเด่นที่แตกต่างรองรับการใช้งานที่ไม่เหมือนกัน โดยครั้งนี้เราจะพาทุกท่านไปพบกับเรื่องราวของหน้าจอต่าง ๆ ให้ท่านได้รู้กัน

          1. จอ crt

               จอ crt หรือชื่อเต็ม ๆ ว่า cathode ray tube monitor เป็นจอที่ใช้กันในทีวีและคอมพิวเตอร์ยุคแรก ๆ ซึ่งหลายคนจะเรียกกันติดปากว่าจอแก้ว ซึ่งมีลักษณะจะเป็นจอใสนูนและมีด้านหลังเหลี่ยมเป็นตู้ทึบ โดยการรับสัญญาณหลักนั้นจะมาในรูปแบบอนาล็อกเริ่มต้นจากจะมีเครื่องยิงลำแสงอิเล็กตรอนไปยังสารฟอสฟอรัสที่ฉาบอยู่บนหน้าจอทำให้เกิดแสงขึ้นมา ซึ่งด้วยความที่มีน้ำหนักมากและเป็นเทคโนโลยียุคเก่าจึงมีขายในปัจจุบันน้อยมาก

          2. จอ lcd

               เมื่อจอ crt มีข้อจำกัดในเรื่องของน้ำหนักที่มากและมีกระบวนการผลิตภาพที่ค่อนข้างซับซ้อน นักพัฒนาจึงได้คิดค้นเทคโนโลยีที่ชื่อว่า lcd ขึ้นมา ซึ่งใช้หลอดไฟ ccfl ที่มีขนาดคล้ายหลอดดูดน้ำหลาย ๆ อันเป็นที่กำเนิดแสง ผ่าน liquid crystal สี น้ำเงิน เขียว    แดง เคลื่อนย้ายองศาบิดไปมาเพื่อให้ได้สีที่แตกต่างกัน ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวถูกนำมาใช้ทั้งจอทีวี จอคอมพิวเตอร์ ไปจนถึงจอของเครื่องเล่นเกมพกพาต่าง ๆ หรือว่าสมาร์ทโฟน เพราะว่ามีขนาดบาง ให้ภาพที่สวยสดและมีต้นทุนไม่แพงมากอีกด้วย ซึ่งเรายังเห็นจอประเภทนี้ในตลาดจนถึงปัจจุบัน

          3. จอ plasma

               จอชนิดนี้สามารถกำเนิดแสงได้เองด้วยแรงดันไฟฟ้าถือว่าเป็นที่ชื่นชอบของผู้ที่ชื่นชอบการดูภาพยนตร์ เพราะมีสีสันที่สบายตา เป็นธรรมชาติ การเคลื่อนไหวเร็ว ๆ บนจอนั้นสามารถทำได้เป็นอย่างดี และให้ภาพสีดำที่ดำสนิทอีกด้วย แต่ข้อเสียของจอชนิดนี้ก็คือตัวจอจะสะท้อนแสงไฟ ทำให้เห็นภาพไม่ชัดบางมุมมอง และเทคโนโลยีดังกล่าวไม่สามารถที่จะมาใส่ในอุปกรณ์ขนาดเล็กได้ เพราะค่อนข้างมีน้ำหนักและกินไฟ จึงหยุดสายการผลิตไป ซึ่งคนดูทีวีก็หันมาใช้ led tv แทน

          4. จอ led

               หลังจากจอ lcd เป็นที่นิยมอยากมากในตลาด ก็ได้มีอีกหนึ่งตัวเลือกเกิดขึ้นมานั่นก็คือ จอ led หรือ light emitting diode นั่นเอง ซึ่งต้องบอกว่าเป็นรุ่นต่อมาของ lcd ก็คงไม่ผิดนัก ซึ่งต้นกำเนิดของภาพนั้นเกิดขึ้นมาจากหลอดไฟดวงเล็ก ๆ 3 สี นั่นคือ น้ำเงิน เขียว แดง แต่ว่าให้สีสันและความสว่างได้เป็นอย่างมาก และด้วยขนาดขอหลอดไฟที่เล็กลงทำให้ขนาดความหนาของตัวอุปกรณ์นั้นบางลงกว่าเก่าด้วย และที่สำคัญกินพลังงานน้อยกว่า lcd จึงเป็นที่นิยมในปัจจุบัน ซึ่ง lcd tv นั้นถือว่าเป็นสินค้าในหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่หลายคนต้องมีติดบ้านเช่นเดียวกับจอคอมพิวเตอร์ ที่ใช้เป็นแบบ led เป็นหลัก

          มาถึงตรงนี้หลายคนคงทราบถึงประเภทของจอต่าง ๆ ไปแล้ว แต่ว่าเทคโนโลยีต่าง ๆ ในปัจจุบันไม่ได้หยุดแค่นั้นยังมีที่คุ้นหูกันอีกอย่างเช่น

               – hd เป็นความละเอียดของพิกเซลที่มีตัวเลขอยู่ที่ 720 ถือว่าเป็นความคมชัดเริ่มต้นของคนที่จะซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ ในสมัยนี้

          – full hd นี่คือเทคโนโลยีความคมชัดพื้นฐานที่เห็นได้ใน led tv ทั่วไป โดยจะมีความละอียดของพิกเซลอยู่ที่ 1080 ซึ่งเป็นมาตรฐานสำคัญในวงการ

          – 4K เทคโนโลยีนี้อยู่ใน led tv รุ่นใหม่ ๆ และกำลังจะเป็นมาตรฐานใหม่ให้กับวงการ โดยจะมีความละเอียดมากกว่า full hd ถึง 4 เท่า และในปัจจุบันนั้นมีราคาไม่แพง มีหลายแบรนด์เข็นรุ่นใหม่ ๆ เข้าสู่ตลาด

          และนี่คือทั้งหมดของเทคโนโลยีหน้าจอต่าง ๆ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันที่เรานำมาเสนอให้ทุกท่านได้ทราบกัน จะเห็นว่าสิ่งที่เราคุ้นตากันตลอดนั้นมีที่มาที่ไปที่น่าสนใจมากมายเลยนะครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *