Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the wordpress-seo domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /home/ainsidec/domains/myjavaserver.com/public_html/wp-includes/functions.php on line 6114
WirelessHART เทคโนโลยีไร้สายสุดมหัศจรรย์ ทันสมัย - My Java Server - Blog ด้าน Technology หลากหลายในไทย
Menu Close

WirelessHART เทคโนโลยีไร้สายสุดมหัศจรรย์ ทันสมัย

คำว่า Wireless ถ้าให้แปลตรงตัวมันก็คือ ไร้สาย ถ้าผมพูดว่าอุปกรณ์นี้เชื่อมต่อกันแบบ Wireless มันก็หมายความว่าเวลาเชื่อมต่อกันอาจจะใช้สัญญาณจำพวก Wi-Fi, Bluetooth หรือคลื่นวิทยุต่าง ๆ นานา แต่ประเด็นคือคำว่า WirelessHART มันมีความแตกต่างพิเศษอะไรจากคำว่า Wireless เฉย ๆ

ก่อนอื่นเราจะต้องรู้ถึงคุณสมบัติพื้นฐานของเทคโนโลยี Wireless กันก่อนครับ มี 3 คุณสมบัติหลักที่เราต้องคำนึงถึงเทคโนโลยี Wireless ก็คือ ระยะทาง ความเร็ว และพลังงาน แน่นอนครับว่ายิ่งสื่อสารได้ไกลแค่ไหนยิ่งเป็นเรื่องที่ดี ส่วนความเร็วถ้าเราอยากให้เร็ว ต้องทำให้คลื่นปริมาณการส่งข้อมูลมีความกว้าง และพลังงานที่ดีนั้นจะขึ้นอยู่กับ Battery Life ของอุปกรณ์นั้นครับ

ทีนี้เรามาเข้าเรื่องกันครับว่า WirelessHART มันคืออะไรกันแน่?? ถ้าเอาหลักทฤษฎีก่อนก็คือ เป็นเครือข่ายทางเทคโนโลยีที่มีการทำงานขึ้นอยู่กับ HART Protocol ด้วยความถี่ 2.4GHz Radio band ส่วนใหญ่จะใช้กับอุปกรณ์ที่มีมาตรฐาน IEEE 802.15.4 สามารถส่งข้อมูลไปได้หลายช่องทางเครือข่ายแบบ Packet และมักจะประจำการทำงานอยู่ที่ ISO/OSI Model ใน Data link Layer, Network Layer และ Physical Layer และผมจะเปรียบเทียบการสรุปเป็นหลักภาษาพูดทั่วไปนะครับ

WirelessHART คือการเชื่อมโยงอุปกรณ์เข้าด้วยกันแบบหลายเครือข่ายโดยใช้ Protocol

ซึ่งการเชื่อมโยงอุปกรณ์แบบหลายเครือข่ายใน Industry 4.0 เราจะเรียกว่า Mesh network communication และในวงการนี้อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกันส่วนใหญ่จะเป็นพวก Sensor, ปั๊มน้ำ, เครื่องวัดแรงดันลม และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมและเราจะเรียกอุปกรณ์จำพวกนี้ว่า Field devices และแน่นอนครับ การใช้งาน WirelessHART จะต้องมีองค์ประกอบ 3 อย่างที่สามารถทำให้เกิดการสื่อสารแบบ WirelessHART อย่างครบถ้วนครับ นั่นก็คือ

Wireless Field Devices อย่างที่บอกไปข้างต้นครับว่ามันประกอบไปด้วยอะไรบ้าง โดยอุปกรณ์พวกนี้ต้องมีการติดตั้งผ่าน WirelessHART เท่านั้นจึงจะสามารถเชื่อมต่อเครือข่ายไปได้หลายช่องทาง
Gateways สำหรับส่วนนี้ไว้ใช้สำหรับเปิดการสื่อสารกันระหว่างอุปกรณ์แต่ละตัว โดยเราต้องหา Hub หลักหรือว่า Host Application ที่จะสามารถเป็นตัวกลางในการสื่อสารกันให้ได้
Network Manager เอาส่วนนี้รับผิดชอบการควบคุมเวลาทำงาน หรือพูดง่าย ๆ คือจัดการการสื่อสารระหว่างกันของ Gateways นั่นก็หมายความว่าเวลาอยากจะให้อุปกรณ์มันสื่อสารกันในรูปแบบ WirelessHART จะต้องจัดการในส่วนของ Network Manager ก่อนเพื่อส่งข้อมูลไปยัง Gateways แล้วต่อไปยัง Wireless Field Devices นั่นเอง

พอผมอธิบายมาถึงตรงนี้แล้วก็ยังทิ้งประเด็นอยู่ครับว่า แบบนี้มันมีอะไรที่มันพัฒนามากขึ้นมาจากใช้ Wireless แบบธรรมดา ทั้ง ๆ ที่ถ้าใช้ Wireless แบบบ้าน ๆ พวก Wi-Fi หรือ Bluetooth มันก็ทำงานได้ แชร์เครือข่ายได้แล้ว

สิ่งที่ WirelessHART สร้างความได้เปรียบจาก Wireless ธรรมดาได้คือ Security ที่หนาแน่นกว่าเดิม

เพราะอะไร? ทำไมถึง Security ถึงหนาแน่น? ผมจะเปรียบเทียบกับ Wireless ธรรมดาอย่าง Wi-Fi ดูนะครับ

ในส่วนของ Wi-Fi ถ้าเราอยากจะแฮ็คข้อมูลหรือการเข้าถึงอย่างไรได้บ้าง? เอาแบบคร่าว ๆ นะครับ คุณต้องรู้ชื่อผู้ใช้งานกับรหัสผ่านใช่มั้ยครับถึงจะเชื่อมต่อ Wi-Fi ได้ แล้วพอเข้าได้ปุ๊บ คุณก็สามารถเข้าถึง Wi-Fi ได้ทันที แต่ตัวของ WirelessHART ผมจะขอบอกขั้นตอนการใช้สิทธิ์ว่ามันเป็นยังไง แต่ก่อนที่ผมจะบอก ขอให้คุณจินตนาการตัวเองเป็น Hacker ก่อนครับ!!!

Encryption หรือการเข้ารหัสข้อมูล

ขั้นตอนแรกคุณต้องทำการ Encryption ข้อมูลหรือมันก็คือกรอกชื่อผู้ใช้งานกับรหัสผ่านนั่นแหละครับ โดยจำนวนชุดข้อมูลที่คุณอยากติดตั้งหรือสร้างชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่านได้จะมีความจุได้สูงสุดถึง 128 bit หรือก็คืออักษรจำนวนมากนั่นแหละครับ

Verification หรือการยืนยันตัวตน

ในปัจจุบันนี้ปฏิเสธไม่ได้ครับว่า ในการเข้าใช้งานระบบอย่างเช่นอีเมล หรือบัญชีใช้งานธนาคารเวลาเข้ารหัสเสร็จจำเป็นต้องมีการยืนยันตัวตนก่อน อาจจะเป็นรูปแบบกรอกเลข OTP หรือกดปุ่มยืนยันผ่าน Smartphone ซึ่งมันเป็นหลักการเดียวกับการ Verification ใน WirelessHART นั่นแหละครับ ถ้าคุณ Hackรหัสผ่านเสร็จแล้ว คุณต้องมาเจอด่านยืนยันตัวตนอีกครับ

Robust Operation กับความซับซ้อนของข้อมูล

ทำไมผมจึงบอกว่า WirelessHART ใช้สำหรับการเชื่อมต่อเครือข่ายกับอุปกรณ์หลาย ๆ ตัว ก็เพราะว่าถ้าคุณจะเชื่อมต่อกับอุปกรณ์แค่ตัวเดียวผมแนะนำให้ใช้ Wireless ธรรมดาดีกว่าครับ ทีนี้พอมันเชื่อมต่อกันหลาย ๆ ตัวเนี่ย ลองคิดสภาพนะครับ คุณ Hack รหัสผ่านและการยืนยันตัวตนเสร็จ คุณต้องควานหาชุดข้อมูลที่คุณจะ Hack ซึ่งก็ไม่รู้เลยว่ามันไปอยู่ตรงไหน ก็เหมือนกับเดินไปเจอทาง 10 แยกนั่นแหละครับ

Key Management เปรียบเสมือน ร.ป.ภ. ประจำ WirelessHART

ถ้าถึงตรงนี้แล้วคุณจะสู้เพื่อที่จะแฮ็คต่อ ผมขอชื่นชมคุณเลยครับ แต่ระหว่างที่คุณกำลังควานหาเส้นทางอยู่ ส่วนของ Key Management มันอาจจะสงสัยตัวคุณอยู่นะครับ เสร็จแล้วเขาก็จะเชิญตัวคุณออกไปจากระบบ เพราะมันเป็นระบบตรวจจับความผิดปกติและป้องกันไม่ให้อุปกรณ์ภายนอกเข้ามายังเครือข่ายของมันนั่นเองครับ

Authentication ด่านสุดท้ายเสมือน Final Boss

พอเข้าหลักการ ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น ในที่สุดคุณก็เจอที่อยู่อุปกรณ์ที่คุณต้องการจะ Hack แล้ว ถึงแม้จะโดน ร.ป.ภ. ไล่ไปบ้าง แล้วยังไงครับ สุดท้ายระบบ Authentication มันก็ไม่ให้คุณเข้าไป Hack อุปกรณ์อยู่ดีครับ เพราะผู้ใช้งานมีสิทธิ์ที่จะเปิดการไม่อนุญาตให้มีแหล่งข้อมูลอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ครับ แล้วก็นั่นแหละครับ เสียเวลาฟรี
สุดท้ายนี้ผมก็หวังว่าการใช้ WirelessHART จะเป็นประโยชน์ให้กับทุกคนที่อยากเพิ่มความปลอดภัยให้กับเครือข่ายหรืออุตสาหกรรมของคุณ สุดยอดเลยใช่มั้ยครับสำหรับหนึ่งในเทคโนโลยี Industry 4.0 ขอให้โชคดีกับการใช้งาน WirelessHART ครับ

Reference: Emerson, WirelessHART, 2013.