Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the wordpress-seo domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /home/ainsidec/domains/myjavaserver.com/public_html/wp-includes/functions.php on line 6114
Modbus เพื่อพัฒนาเครือข่าย Digital Technology ยั่งยืน ไฮเทค ตรงสเปค - My Java Server - Blog ด้าน Technology หลากหลายในไทย
Menu Close

Modbus เพื่อพัฒนาเครือข่าย Digital Technology ยั่งยืน ไฮเทค ตรงสเปค

หากเราพูดถึงการเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่เป็นลักษณะ Digital Technology ในยุค Industry 4.0 เราก็คงหนีไม่พ้นในส่วนของ Modbus ซึ่ง ณ ตอนนี้ถือเป็นการเชื่อมต่อที่ผมคิดว่ามันลงตัวกันที่สุดแล้วครับ แล้วมันคืออะไรล่ะ??

ผมอยากจะบอกว่าลักษณะการเชื่อมต่อของ Modbus ที่ส่วนใหญ่เขาใช้กัน มันจะเป็นแบบ Master-Slave/Client-Server ซึ่งถ้าให้พูดง่าย ๆ เลยก็คือเอาตัวของข้อมูลที่เราต้องการให้ทำงานหรือ Client ไปใส่ใน Hub หลักหรือว่า Server นั่นเอง (รู้แค่นี้ไปก่อนครับ) ทีนี้ใน Digital Technology สำหรับ Industry 4.0 ก็ต้องจัดหาอุปกรณ์ที่มันเหมาะสมสำหรับให้เชื่อมต่อแบบดังที่ผมกล่าว ก็เลยกลายเป็นสิ่งที่เรียกว่า Modbus นั่นเอง และแน่นอนครับว่า การที่จะนำเทคโนโลยี 4.0 มาใช้จำเป็นต้องมีการแบ่งประเภทเพื่อให้สามารถใช้งานได้ในทุกสถานการณ์

Modbus ออกแบบมาเพื่อให้รองรับการใช้งานได้ทุกประเภท จะประกอบไปด้วย Modbus RTU และ Modbus TCP

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจในโครงสร้างของมันก่อนครับ โครงสร้างของ Modbus จะประกอบไปด้วย 4 ส่วนก็คือ Address Field, Function Code, Data และ CRC เป็นหลัก ในส่วนของ Address Field จะรับผิดชอบการหาตำแหน่งการส่งข้อมูลหรือที่เราเรียกกันว่า IP Address หรือก็คือจัดหา IP Adress ที่เกิดการตอบสนองอยู่นั่นเองครับ ต่อไปเป็น Function Code ส่วนนี้รับผิดชอบในส่วนของการตรวจสอบดูว่าข้อมูลมันเป็นประเภทไหนหรือยังไง? แล้วค่อยรับข้อมูลแบบ Bit เข้ามา อันต่อไปเป็น Data ส่วนที่สำคัญที่สุด ขาดไม่ได้ เป็นส่วนรวบรวมข้อมูลแบบ Bit ที่ส่งมาเรื่อย ๆ จากนั้นตรวจสอบความถูกต้องหรือทดสอบ Error ว่ามันเหมาะสมกับการใช้งานกับ Modbus มั้ย ถ้าไม่มี Error ก็จะส่งชุดข้อมูลทั้งหมดไปยังส่วนสุดท้ายคือ CRC หรือชื่อย่อของมันคือ Cyclic Redundancy Check มันจะเช็คความสอดคล้องกันของ Client/Server หรือว่า Master-Slave ถ้ามันไม่สอดคล้องกัน ส่วนของ CRC จะส่งข้อมูลกลับไป แต่ถ้าสอดคล้องกันแล้ว ก็จะถือว่าการส่งข้อมูลในรูปแบบ Modbus เสร็จสมบูรณ์นั่นเอง

 

modbus serial line pdu

เรามาเข้าสู่เรื่องประเภทของ Modbus กันครับ Modbus สำหรับ Digital Technology จะมีทั้งหมด 2 ประเภทดังที่กล่าวไว้ข้างต้นเลยครับก็คือ Modbus RTU และ Modbus TCP

Modbus RTU กับ Data Transfer Rate 0-252 Byte Per Telegram Frame

ถ้าถามว่าความเร็วในการส่งข้อมูลแรงกว่า Modbus อีกประเภทอย่าง Modbus TCP หรือไม่? เดี๋ยวผมค่อยเฉลยครับ ในส่วนของความยาวของเครือข่ายจะขึ้นอยู่กับ Physical Media และ Baud rate ของอุปกรณ์ที่เราใช้ครับ ซึ่งใน 1 Master หรือว่า Client จะสามารถเชื่อมต่อได้ 246 Slave หรือว่า Server แต่อย่างที่บอกไปครับ การใช้ Physical Media ก็คือการติดตั้งสาย มันก็ต้องขึ้นอยู่กับประเภทสายที่ใช้ด้วย ถ้าเป็นแบบ RS-232 ก็ต้องเชื่อมจากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่ง (Peer to Peer) ซึ่งมันค่อนข้างจะวุ่นวายและซับซ้อนมากครับ ในทางกลับกันประเภท RS-485 ในหนึ่งส่วนสามารถเชื่อมอุปกรณ์ได้ถึง 32 ตัวด้วยกัน

เทคโนโลยีที่มีความสะดวกสบาย ย่อมแลกมาด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงเสมอ

และแน่นอนมันง่ายกว่า RS-232 มาก แต่ก็ต้องแลกมาด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า ฉะนั้น ผมจะบอกว่าขอให้จำสิ่งนี้ไว้ก่อนครับ คือ ตัวของ Modbus RTU เขามีการใช้งานในส่วนของ Master-Slave เป็นส่วนใหญ่ครับ

Modbus TCP กับ Data Transfer Rate 10, 100 และ 1000 Mbps

จำที่ผมบอกไว้ใน Modbus RTU ได้มั้ยครับว่ามันมี Transfer Rate เท่าไหร่? แล้วลองมาเปรียบเทียบกับประเภทนี้ดูครับ อันนี้เร็วกว่าเยอะมาก ถ้าใครยังงงลองเอาสิบคูณกับหนึ่งล้านดูครับ นั่นคือความเร็วต่อ 1 วินาทีนะครับ ต่อไปเป็นความยาวเครือข่ายจะอิงตามมาตรฐาน Ethernet Technology สำหรับ 10, 100 และ 1000 Mbps ซึ่งก็ต้องขึ้นอยู่กับประเภทที่ใช้ครับว่ายาวกว่าหรือสั้นกว่ามาตรฐานของ Physical Media และ Baud rate ใน Modbus RTU และนอกจากนี้ Ethernet Technology ยังเป็นมาตรฐานสำหรับการติดตั้งสายของ Modbus TCP อีกด้วย และสุดท้ายคือมีจุดได้เปรียบ Modbus RTU คือไม่จำกัดจำนวน Node ที่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ครับ โดยตัวของ Modbus TCP เขามีการใช้งานในส่วนของ Client-Server เป็นส่วนใหญ่ครับ

และทั้งหมดก็คือข้อเปรียบเทียบระหว่าง Modbus RTU และ Modbus TCP ครับว่ามันมีองค์ประกอบอย่างไรบ้าง แต่ทั้งนี้ในส่วนของ Modbus ล้วนเป็นเทคโนโลยีที่นิยมใช้เชื่อมต่ออุปกรณ์กันในยุค Industry 4.0 แน่นอนครับ ต่อจากนี้ผมขอแนะนำครับ ถ้าอยากสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยีผ่านคอมพิวเตอร์เมื่อไหร่ หา Modbus ที่เหมาะสมก่อนเลยครับ และการเชื่อมต่อจะเป็นไปได้ด้วยดีครับ และอย่าลืมครับ เทคโนโลยีที่มีความสะดวกสบาย ย่อมแลกมาด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงเสมอ

modbus rtu

แต่เดี๋ยวก่อนครับ จำที่ผมทิ้งประเด็นไว้ได้มั้ยครับในส่วนของ Master-Slave กับ Client-Server ทำไมผมถึงใช้คำงง ๆ แบบนี้ มันคืออะไร?? ผมจะมาเฉลยให้ครับว่า ในส่วนของ Master-Slave นั้น ตัวของ Master จะทำการสั่งการ Slave ให้ทำตามคำสั่งตามที่ระบุไว้ แต่ในส่วนของ Client-Server นั้น ตัวของ Client จะเป็นการร้องขอข้อมูลที่อยู่ใน Server แล้วให้ Server นั้นส่งข้อมูลมานั่นเองครับ

สุดท้ายครับ ผมอยากจะบอกว่า การใช้ Modbus ที่ดีนั้นจะต้องมีการประยุกต์ใช้กับอุปกรณ์ที่เหมาะสมด้วยเช่นกัน โดยอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ที่ผมแนะนำให้ใช้งาน ขอเป็นพวกระบบที่มันมีความเป็น Automation เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยละกันครับ เช่นพวก PLC หรือ HMI ที่มันเป็นโปรแกรมควบคุมอุปกรณ์ได้เอง อาจจะเอาหลอดไฟเชื่อมต่อกับ PLC ให้มันสั่งการเปิดและปิดเองได้ ก็ถือเป็นตัวเลือกที่ดีครับ

Reference : https://modbus.org/docs/Modbus_Application_Protocol_V1_1b.pdf